เมนู

5. จันทาภชาดก


ว่าด้วยผู้เข้าถึงอาภัสสรพรหมณ์


[135] ผู้ใดในโลกนี้ หยั่งได้ด้วยปรีชา ซึ่ง
แสงจันทน์ และแสงอาทิตย์ ผู้นั้นย่อมเข้าถึง
อาภัสรพรหมได้ด้วยฌาน อันหาวิตกมิได้.

จบ จันทาภชาดกที่ 5

อรรถกถาจันทาภชาดกที่ 5


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการพยากรณ์ปัญหาของพระเถระเจ้านั้นแล ที่ประตู
สังกัสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า จนฺทาภํ
ดังนี้.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์กำลังจะมรณภาพ ณ ชายป่า
ถูกพวกอันเตวาสิกซักถาม กล่าวว่า จนฺทาภํ สุริยาภํ แสงจันทน์
แสงอาทิตย์ ดังนี้ แล้วเกิดในอาภัสสรพรหม. พวกดาบสไม่เชื่อ
อันเตวาสิกผู้ใหญ่ พระโพธิสัตว์มาสถิตในอากาศ กล่าวคาถานี้
ความว่า :-
" ผู้ใดในโลกนี้หยั่งได้ ด้วยปรีชา ซึ่ง
แสงจันทร์ และแสงอาทิตย์ ผู้นั้นย่อมเข้าถึง

อาภัสรพรหมได้ ด้วยฌานอันหาวิตกมิได้"
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์แสดงโอทาตกสิณ ด้วย
บทว่า จนฺทาภํ แสดง ปีตกสิณ ด้วยบทว่า สุริยาภํ.
บทว่า โยธ ปญฺญาย คาธติ ความว่า บุคคลใดในสัตว์โลก
นี้ หยั่งได้ด้วยปัญญาซึ่งกสิณทั้งสองอย่างนี้ คือการทำให้เป็น
อารมณ์ ส่งใจไป หรือตั้งใจไว้ได้ในกสิณทั้งสองอย่างนั้น
อีกบรรยายหนึ่ง บทว่า จนฺทาภํ สุริยาภญฺจ โยธ ปญฺญาย คาธติ
ความว่า แสงจันทน์ และแสงอาทิตย์แผ่ไปสู่ที่มีประมาณเท่าใด
เจริญปฏิภาคกสิณในที่มีประมาณเท่านั้น กระทำปฏิภาคกสิณนั้น
ให้เป็นอารมณ์ ยังฌานให้เกิดได้ ก็ย่อมชื่อว่า หยั่งลงสู่แสง
ทั้งสองนั้นได้ด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น ความข้อนี้ก็เป็นการอธิบาย
ความในบทนั้นได้เหมือนกัน บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงอาภัสสร
พรหมโลก ได้ด้วยฌานที่สองที่ตนได้แล้ว เพราะกระทำอย่างนั้น.
พระโพธิสัตว์ให้พวกดาบสรู้แจ้งด้วยประการฉะนี้ แล้ว
กล่าวสรรเสริญคุณของอันเตวาสิกผู้ใหญ่ กลับไปยังพรหมโลก
ทันที.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้น ได้มาเป็นสารีบุตร ส่วน
ท้าวมหาพรหม ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจันทรภชาดกที่ 5

6. สุวรรณหังสชาดก


โลภมากลาภหาย


[136] "บุคคลได้สิ่งใด ควรยินดีด้วยสิ่งนั้น
เพราะความโลภเกินประมาณ ชั่วแท้ นาง-
พราหมณี จับพระยาหงส์เสียแล้ว จึงเสื่อมจาก
ทอง"
ดังนี้.
จบ สุวรรณหังสชาดกที่ 6

อรรถกถาสุวรรณหังสชาดกที่ 6


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุณี ชื่อ ถูลนันทา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า ยํ ลทฺธํ เตน ตุฏฐพฺพํ ดังนี้.
ความพิสดารว่า อุบาสกคนหนึ่งในพระนครสาวัตถี
ปวารณากระเทียมกับภิกษณีสงฆ์ไว้ และสั่งเสียคนเฝ้าไร่ไว้ด้วยว่า
ถ้าภิกษุณีทั้งหลายพากันมาเอา จงให้ไปรูปละ 2-3 ห่อ. จำเดิม
แต่นั้นภิกษุณีทั้งหลายต้องการกระเทียม ก็พากันไปที่บ้านของ
เขาบ้าง ที่ไร่ของเขาบ้าง ครั้นถึงวันมหรสพวันหนึ่ง กระเทียม
ในเรือนของเขาหมด ภิกษุณีถูลนันทาพร้อมด้วยบริวาร พากัน
ไปที่เรือนแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ ฉันต้องการกระเทียม คนรักษา